วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2561

การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ


การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ


1.  แจ้งเจ้าหน้าที่หรือร้องเรียกผู้ใหญ่ให้ช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำ


เป็นการฝึกให้เด็กเล็กๆ รู้จักวิธีช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำที่ถูกต้องคือ จะไม่เข้าไปช่วยด้วยตนเองเพราะอาจมีอันตรายถึงชีวิต เมื่อเห็นคนตกน้ำ คนจมน้ำให้รีบบอกหรือร้องเรียกให้ผู้ใหญ่หรือแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบเพื่อที่จะได้ให้ความช่วยเหลือต่อไป
1.1 อธิบายและสอนให้ผู้ฝึกปฎิบัติรู้จักประเมินความสามารถในการให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยตนเอง
1.2 อธิบายและสอนให้ผู้ฝึกปฎิบัติรู้วิธีการช่วยเหลือผู้อื่นด้วยการเรียกใหผู้ใหญ่ช่วย
1.3 สอนให้ผู้ฝึกปฎิบัติรู้จักหมายเลขโทรศัพท์1669 เพื่อใช้แจ้งเหตุกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน

2. การช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการยื่นอุปกรณ์ เช่น แผ่นโฟม (Kick board) ท่อPVC ไม้พลอง กิ่งไม้ หรือSwimming Noodle

การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำที่ถูกต้องและปลอดภัยที่สุดคือ การช่วยจากบนบก โดยที่ผู้ให้ความช่วยเหลือไม่ต้องลงน้ำและวิธีการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำที่ปลอดภัยที่สุดสําหรับเด็กเล็กๆ และนักเรียนที่เริ่มเรียนว่ายน้ำ

2.1วิธีการฝึกการนอนยื่นแผ่นโฟม(Kick board)


1) ผู้สอนกําหนดจุดสมมุติที่มีผู้ประสบภัยทางน้ำในสระว่ายน้ำ
2) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติตะโกนบอกผู้ประสบภั ยทางน้ำว่า“ไม่ต้องตกใจมาช่วยแล้ว” จากนั้นนอนราบลงกับพื้นที่ขอบสระ มือหนึ่งจับด้านหนึ่งของโฟม (Kick board) ไว้ให้มั่นคง ยื่นโฟม(Kick board) ไปให้ผู้ ประสบภัยทางน้ำที่อยู่ไม่ห่างเกินไปนัก พร้อมกับบอกให้ผู้ประสบภัยจับโฟมแล้วดึงเข้าหาขอบสระ
3) เมื่อมาถึงขอบสระแล้วให้ผู้ช่วยเหลือจับมือผู้ประสบภัยวางลงบนขอบสระ แล้วถามผู้ประสบภัยเบาๆ ว่า“ขึ้นเองได้หรือเปล่าครับ/คะ”
4) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติจับคู่กัน คนหนึ่งเป็นผู้ช่วยเหลืออีกคนเป็นผู้ประสบภัยทางน้ำ
5) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติที่แสดงบทบาทเป็นผู้ประสบภัยทางน้ำลงไปอยู่ในน้ำห่างพอประมาณ แล้วให้ผู้ฝึกปฎิบัติที่แสดงบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำฝึกการช่วยเหลือด้วยการยื่นอุปกรณ์ตามข้อ2) ถึง ข้อ3)
6) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติทั้งคู่สลับบทบาทกัน

2.2วิธีการฝึกการยืนยื่นอุปกรณ์ ท่อPVC ไม้พลอง กิ่งไม้ หรือ Swimming Noodle


1) ผู้สอนกําหนดจุดสมมุติที่มีผู้ประสบภัยทางน้ำในสระว่ายน้ำ
2) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติยืนอยู่ห่างจากขอบสระในลักษณะการยืนที่มีเท้านํา เท้าตาม เท้านําคือเท้าหน้าเอาไว้ยันพื้นเมื่อถูกดึงหรือออกแรงดึงผู้ประสบภัยเข้าหาขอบสระ เท้าตามคือเท้าหลัง ให้ทิ้งน้ำหนักตัวส่วนใหญลงที่เท้าหลังเพื่อให้ศูนย์ถ่วงของร่างกายมาอยู่ที่เท้าหลัง
3) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติตะโกนบอกผู้ประสบภัยทางน้ำว่า“ไม่ต้องตกใจมาช่วยแล้ว” ใช้สองมือจับอุปกรณ์ที่จะยื่นให้แน่น ย่อตัวลงให้ต่ำเพื่อลดจุดศูนย์ถ่วงไม่ให้ถูกผู้ประสบภัยดึงตกน้ำจากนั้นยื่นอุปกรณ์ไปทางด้านข้างของผู้ประสบภัยวาดอุปกรณ์เข้าไปหาร่างของผู้ประสบภัย ตะโกนบอกด้วยว่า“จับไม้ไว้ จับไม้ไว้”
4) เมื่อผู้ประสบภัยจับอุปกรณ์ได้แล้วให้ถอยหลังห่างออกมาจากขอบสระ1 ก้าว ย่อตัวลงแล้วค่อยๆ สาวไม่ดึงผู้ประสบภัยเข้ามาหาขอบสระ
5) เมื่อมาถึงขอบสระให้ผู้ช่วยเหลือจับมือผู้ประสบภัยวางลงบนขอบสระ แล้วถามผู้ประสบภัยเบาๆ ว่า“ขึ้นเองได้หรือเปลาครับ/คะ”
6) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติจับคู่กันคนหนึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือ อีกคนเป็นผู้ประสบภัยทางน้ำ
7) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติที่แสดงบทบาทเป็นผู้ประสบภัยทางน้ำลงไปอยู่ในน้ำห่างจากขอบสระพอสมควร แล้วให้ผู้ฝึกปฎิบัติที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำฝึกการช่วยเหลือด้วยการยื่นอุปกรณ์ตามข้อ2) ถึง ข้อ5)
8) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติทั้งคู่สลับบทบาทกัน

3.  การช่วยด้วยวิธีโยนอุปกรณ์ลอยน้ำ


เช่น ห่วงชูชีพ ถังน้ำ ถังแกลลอนขวดน้ำดื่มพลาสติก ไปให้ผู้ประสบภัย โดยโยนอุปกรณ์นั้นๆ ไปให้ตรงตัวผู้ประสบภัย ถ้าจะให้ดีควรโยนให้โดนหรือตกตรงหน้าของผู้ประสบภัย เพื่อที่ผู้ประสบภัยจะได้จับหรือเกาะอุปกรณ์ พยุงตัวลอยน้ำเพื่อรอความช่วยเหลือต่อไป แต่การช่วยด้วยการโยนอุปกรณ์แบบนี้จะต้องมีความแม่นยำหรือไม่ก็ต้องโยนให้หลายๆ ชิ้นเพราะหากโยนไม่แม่น ผู้ประสบภัยไม่สามารถจะสามารถจะเคลื่อนที่มาจับอุปกรณ์ที่โยนให้ได้การช่วยจะไม่ประสบความสําเร็จและผู้ให้ความช่วยเหลือก็ไม่สามารถที่จะลงไปหยิบอุปกรณ์นั้นๆ เอามาโยนให้ประสบภัยอีกครั้งได้

3.1วิธีการฝึกการช่วยด้วยวิธีโยนอุปกรณ์ลอยน้ำ

1) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติยืนอยู่ที่ขอบสระว่ายน้ำ
2) ผู้สอนกําหนดจุดสมมุติที่มีผู้ประสบภัยทางน้ำขึ้นในสระว่ายน้ำ
3) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติตะโกนบอกผู้ประสบภัยให้รู้ว่า มีคนจะให้ความช่วยเหลือแล้ว“ไม่ต้องตกใจ มาช่วยแล้ว” จากนั้นให้โยนอุปกรณ์(แผ่นโฟม ขวดน้ำดื่มพลาสติก ถังแกลลอน เสื้อชูชีพ) ไปยังตําแหน่งหรือใกล้กับจุดสมมุติที่มีผู้ประสบภัยทางน้ำอยู่(ให้โยนอุปกรณ์หลายๆชิ้น)
4) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติจับคู่กับเพื่อผู้ฝึกปฎิบัติอีกคน แล้วให้คนหนึ่งแสดงบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ และอีกคนแสดงบทบาทเป็นผู้ประสบภัยทางน้ำ
5) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติที่แสดงบทบาทเป็นผู้ประสบภัยทางน้ำลงไปอยู่ในน้ำ แล้วให้ผู้ฝึกปฎิบัติที่ แสดงบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำฝึกการโยนอุปกรณ์(ขวดพลาสติกแกลลอน เสื้อชูชีพ) เพื่อช่วยเหลือตามข้อ3)
6) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติทั้งคู่สลับบทบาทกัน

3.2  การช่วยด้วยวิธีโยนอุปกรณ์ที่มีเชือกผูก


เช่น ห่วงชูชีพ ถังน้ำ ถังแกลลอนขวดน้ำดื่มพลาสติกที่มีเชือกผูก เชือกที่ใช้ต้องมีความอ่อนตั ว ไม่บิดเป็นเลียว ขนาดประมาณ 4 หุนยาว12 - 15 เมตร การโยนอุปกรณ์ที่มีเชือกผูก ให้ผู้โยนโยนอุปกรณ์ให้ข้ามศีรษะของผู้ประสบภัยไปเชือกจะตกลงไปกระทบตัวผู้ประสบภัย เมื่อผู้ประสบภัยจับเชือกได้แล้วให้สาวเชือกเพื่อลากเอาผู้ประสบภัยเข้าสู่ที่ปลอดภัย
วิธีการฝึกการช่วยด้วยวิธีโยนอุปกรณ์ที่มีเชือกผูก
1) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติยืนอยู่ที่ขอบสระว่ายน้ำ
2) ผู้สอนกําหนดจุดสมมุติที่มีผู้ประสบภัยทางน้ำขึ้นในสระว่ายน้ำ
3) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติตะโกนบอกผู้ประสบภัยให้รู้ว่า มีคนจะให้ความช่วยเหลือแล้ว“ไม่ต้องตกใจ มาช่วยแล้ว” จากนั้นให้ผู้ฝึกปฎิบัติยืนย่อตัวให้ต่ำๆ เพื่อลดจุดศูนย์ถ่วง ตามองอยู่ที่ผู้จม ยืนในลักษณะที่มีเท้านํา(เท้าหน้า) เท้าตาม(เท้าหลัง) มือข้างที่ไม่ถนัดจับหางเชือก(มือข้างเดียวกับเท้าหน้า) มือข้างที่ถนัดจับอุปกรณ์ให้แน่น
4) เหวี่ยงแขนไปด้านหลังแล้วเหวี่ยงแขนมาด้านหน้าจนสูงถึงระดับสายตาจึงปล่อยอุปกรณ์ไป โดยกะให้อุปกรณ์ลอยข้ามศีรษะของผู้ประสบภัยไป เชือกจะตกลงไปกระทบผู้ประสบภัย ค่อยๆ สาวเชือกกลับผู้ประสบภัยจะรู้สึกว่ามีเส้นเชื อกหรืออุปกรณ์มาสัมผัสก็จะจับเชือกหรืออุปกรณ์ ค่อยๆ สาวเชื อกเข้าหาขอบสระ
5) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติจับคู่กับเพื่อนักเรี ยนอีกคน แล้วให้คนหนึ่งแสดงบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ และอีกคนแสดงบทบาทเป็นผู้ประสบภัยทางน้ำ
6) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติที่ แสดงบทบาทเป็นผู้ประสบภัยทางน้ำลงไปอยู่ในน้ำ แล้วให้ผู้ฝึกปฎิบัติที่ แสดงบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำฝึกการโยนอุปกรณ์ที่มีเชือก (ถังแกลลอน เสื้อชูชีพ) เพื่อช่วยเหลือตามข้อ3) ถึงข้อ4) 
7) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติทั้งคู่สลับบทบาทกัน


วิดีโอการช่วยเหลือคนจมน้ำ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น