วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2561

การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ


การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ


1.  แจ้งเจ้าหน้าที่หรือร้องเรียกผู้ใหญ่ให้ช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำ


เป็นการฝึกให้เด็กเล็กๆ รู้จักวิธีช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำที่ถูกต้องคือ จะไม่เข้าไปช่วยด้วยตนเองเพราะอาจมีอันตรายถึงชีวิต เมื่อเห็นคนตกน้ำ คนจมน้ำให้รีบบอกหรือร้องเรียกให้ผู้ใหญ่หรือแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบเพื่อที่จะได้ให้ความช่วยเหลือต่อไป
1.1 อธิบายและสอนให้ผู้ฝึกปฎิบัติรู้จักประเมินความสามารถในการให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยตนเอง
1.2 อธิบายและสอนให้ผู้ฝึกปฎิบัติรู้วิธีการช่วยเหลือผู้อื่นด้วยการเรียกใหผู้ใหญ่ช่วย
1.3 สอนให้ผู้ฝึกปฎิบัติรู้จักหมายเลขโทรศัพท์1669 เพื่อใช้แจ้งเหตุกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน

2. การช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการยื่นอุปกรณ์ เช่น แผ่นโฟม (Kick board) ท่อPVC ไม้พลอง กิ่งไม้ หรือSwimming Noodle

การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำที่ถูกต้องและปลอดภัยที่สุดคือ การช่วยจากบนบก โดยที่ผู้ให้ความช่วยเหลือไม่ต้องลงน้ำและวิธีการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำที่ปลอดภัยที่สุดสําหรับเด็กเล็กๆ และนักเรียนที่เริ่มเรียนว่ายน้ำ

2.1วิธีการฝึกการนอนยื่นแผ่นโฟม(Kick board)


1) ผู้สอนกําหนดจุดสมมุติที่มีผู้ประสบภัยทางน้ำในสระว่ายน้ำ
2) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติตะโกนบอกผู้ประสบภั ยทางน้ำว่า“ไม่ต้องตกใจมาช่วยแล้ว” จากนั้นนอนราบลงกับพื้นที่ขอบสระ มือหนึ่งจับด้านหนึ่งของโฟม (Kick board) ไว้ให้มั่นคง ยื่นโฟม(Kick board) ไปให้ผู้ ประสบภัยทางน้ำที่อยู่ไม่ห่างเกินไปนัก พร้อมกับบอกให้ผู้ประสบภัยจับโฟมแล้วดึงเข้าหาขอบสระ
3) เมื่อมาถึงขอบสระแล้วให้ผู้ช่วยเหลือจับมือผู้ประสบภัยวางลงบนขอบสระ แล้วถามผู้ประสบภัยเบาๆ ว่า“ขึ้นเองได้หรือเปล่าครับ/คะ”
4) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติจับคู่กัน คนหนึ่งเป็นผู้ช่วยเหลืออีกคนเป็นผู้ประสบภัยทางน้ำ
5) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติที่แสดงบทบาทเป็นผู้ประสบภัยทางน้ำลงไปอยู่ในน้ำห่างพอประมาณ แล้วให้ผู้ฝึกปฎิบัติที่แสดงบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำฝึกการช่วยเหลือด้วยการยื่นอุปกรณ์ตามข้อ2) ถึง ข้อ3)
6) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติทั้งคู่สลับบทบาทกัน

2.2วิธีการฝึกการยืนยื่นอุปกรณ์ ท่อPVC ไม้พลอง กิ่งไม้ หรือ Swimming Noodle


1) ผู้สอนกําหนดจุดสมมุติที่มีผู้ประสบภัยทางน้ำในสระว่ายน้ำ
2) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติยืนอยู่ห่างจากขอบสระในลักษณะการยืนที่มีเท้านํา เท้าตาม เท้านําคือเท้าหน้าเอาไว้ยันพื้นเมื่อถูกดึงหรือออกแรงดึงผู้ประสบภัยเข้าหาขอบสระ เท้าตามคือเท้าหลัง ให้ทิ้งน้ำหนักตัวส่วนใหญลงที่เท้าหลังเพื่อให้ศูนย์ถ่วงของร่างกายมาอยู่ที่เท้าหลัง
3) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติตะโกนบอกผู้ประสบภัยทางน้ำว่า“ไม่ต้องตกใจมาช่วยแล้ว” ใช้สองมือจับอุปกรณ์ที่จะยื่นให้แน่น ย่อตัวลงให้ต่ำเพื่อลดจุดศูนย์ถ่วงไม่ให้ถูกผู้ประสบภัยดึงตกน้ำจากนั้นยื่นอุปกรณ์ไปทางด้านข้างของผู้ประสบภัยวาดอุปกรณ์เข้าไปหาร่างของผู้ประสบภัย ตะโกนบอกด้วยว่า“จับไม้ไว้ จับไม้ไว้”
4) เมื่อผู้ประสบภัยจับอุปกรณ์ได้แล้วให้ถอยหลังห่างออกมาจากขอบสระ1 ก้าว ย่อตัวลงแล้วค่อยๆ สาวไม่ดึงผู้ประสบภัยเข้ามาหาขอบสระ
5) เมื่อมาถึงขอบสระให้ผู้ช่วยเหลือจับมือผู้ประสบภัยวางลงบนขอบสระ แล้วถามผู้ประสบภัยเบาๆ ว่า“ขึ้นเองได้หรือเปลาครับ/คะ”
6) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติจับคู่กันคนหนึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือ อีกคนเป็นผู้ประสบภัยทางน้ำ
7) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติที่แสดงบทบาทเป็นผู้ประสบภัยทางน้ำลงไปอยู่ในน้ำห่างจากขอบสระพอสมควร แล้วให้ผู้ฝึกปฎิบัติที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำฝึกการช่วยเหลือด้วยการยื่นอุปกรณ์ตามข้อ2) ถึง ข้อ5)
8) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติทั้งคู่สลับบทบาทกัน

3.  การช่วยด้วยวิธีโยนอุปกรณ์ลอยน้ำ


เช่น ห่วงชูชีพ ถังน้ำ ถังแกลลอนขวดน้ำดื่มพลาสติก ไปให้ผู้ประสบภัย โดยโยนอุปกรณ์นั้นๆ ไปให้ตรงตัวผู้ประสบภัย ถ้าจะให้ดีควรโยนให้โดนหรือตกตรงหน้าของผู้ประสบภัย เพื่อที่ผู้ประสบภัยจะได้จับหรือเกาะอุปกรณ์ พยุงตัวลอยน้ำเพื่อรอความช่วยเหลือต่อไป แต่การช่วยด้วยการโยนอุปกรณ์แบบนี้จะต้องมีความแม่นยำหรือไม่ก็ต้องโยนให้หลายๆ ชิ้นเพราะหากโยนไม่แม่น ผู้ประสบภัยไม่สามารถจะสามารถจะเคลื่อนที่มาจับอุปกรณ์ที่โยนให้ได้การช่วยจะไม่ประสบความสําเร็จและผู้ให้ความช่วยเหลือก็ไม่สามารถที่จะลงไปหยิบอุปกรณ์นั้นๆ เอามาโยนให้ประสบภัยอีกครั้งได้

3.1วิธีการฝึกการช่วยด้วยวิธีโยนอุปกรณ์ลอยน้ำ

1) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติยืนอยู่ที่ขอบสระว่ายน้ำ
2) ผู้สอนกําหนดจุดสมมุติที่มีผู้ประสบภัยทางน้ำขึ้นในสระว่ายน้ำ
3) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติตะโกนบอกผู้ประสบภัยให้รู้ว่า มีคนจะให้ความช่วยเหลือแล้ว“ไม่ต้องตกใจ มาช่วยแล้ว” จากนั้นให้โยนอุปกรณ์(แผ่นโฟม ขวดน้ำดื่มพลาสติก ถังแกลลอน เสื้อชูชีพ) ไปยังตําแหน่งหรือใกล้กับจุดสมมุติที่มีผู้ประสบภัยทางน้ำอยู่(ให้โยนอุปกรณ์หลายๆชิ้น)
4) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติจับคู่กับเพื่อผู้ฝึกปฎิบัติอีกคน แล้วให้คนหนึ่งแสดงบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ และอีกคนแสดงบทบาทเป็นผู้ประสบภัยทางน้ำ
5) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติที่แสดงบทบาทเป็นผู้ประสบภัยทางน้ำลงไปอยู่ในน้ำ แล้วให้ผู้ฝึกปฎิบัติที่ แสดงบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำฝึกการโยนอุปกรณ์(ขวดพลาสติกแกลลอน เสื้อชูชีพ) เพื่อช่วยเหลือตามข้อ3)
6) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติทั้งคู่สลับบทบาทกัน

3.2  การช่วยด้วยวิธีโยนอุปกรณ์ที่มีเชือกผูก


เช่น ห่วงชูชีพ ถังน้ำ ถังแกลลอนขวดน้ำดื่มพลาสติกที่มีเชือกผูก เชือกที่ใช้ต้องมีความอ่อนตั ว ไม่บิดเป็นเลียว ขนาดประมาณ 4 หุนยาว12 - 15 เมตร การโยนอุปกรณ์ที่มีเชือกผูก ให้ผู้โยนโยนอุปกรณ์ให้ข้ามศีรษะของผู้ประสบภัยไปเชือกจะตกลงไปกระทบตัวผู้ประสบภัย เมื่อผู้ประสบภัยจับเชือกได้แล้วให้สาวเชือกเพื่อลากเอาผู้ประสบภัยเข้าสู่ที่ปลอดภัย
วิธีการฝึกการช่วยด้วยวิธีโยนอุปกรณ์ที่มีเชือกผูก
1) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติยืนอยู่ที่ขอบสระว่ายน้ำ
2) ผู้สอนกําหนดจุดสมมุติที่มีผู้ประสบภัยทางน้ำขึ้นในสระว่ายน้ำ
3) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติตะโกนบอกผู้ประสบภัยให้รู้ว่า มีคนจะให้ความช่วยเหลือแล้ว“ไม่ต้องตกใจ มาช่วยแล้ว” จากนั้นให้ผู้ฝึกปฎิบัติยืนย่อตัวให้ต่ำๆ เพื่อลดจุดศูนย์ถ่วง ตามองอยู่ที่ผู้จม ยืนในลักษณะที่มีเท้านํา(เท้าหน้า) เท้าตาม(เท้าหลัง) มือข้างที่ไม่ถนัดจับหางเชือก(มือข้างเดียวกับเท้าหน้า) มือข้างที่ถนัดจับอุปกรณ์ให้แน่น
4) เหวี่ยงแขนไปด้านหลังแล้วเหวี่ยงแขนมาด้านหน้าจนสูงถึงระดับสายตาจึงปล่อยอุปกรณ์ไป โดยกะให้อุปกรณ์ลอยข้ามศีรษะของผู้ประสบภัยไป เชือกจะตกลงไปกระทบผู้ประสบภัย ค่อยๆ สาวเชือกกลับผู้ประสบภัยจะรู้สึกว่ามีเส้นเชื อกหรืออุปกรณ์มาสัมผัสก็จะจับเชือกหรืออุปกรณ์ ค่อยๆ สาวเชื อกเข้าหาขอบสระ
5) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติจับคู่กับเพื่อนักเรี ยนอีกคน แล้วให้คนหนึ่งแสดงบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ และอีกคนแสดงบทบาทเป็นผู้ประสบภัยทางน้ำ
6) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติที่ แสดงบทบาทเป็นผู้ประสบภัยทางน้ำลงไปอยู่ในน้ำ แล้วให้ผู้ฝึกปฎิบัติที่ แสดงบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำฝึกการโยนอุปกรณ์ที่มีเชือก (ถังแกลลอน เสื้อชูชีพ) เพื่อช่วยเหลือตามข้อ3) ถึงข้อ4) 
7) ให้ผู้ฝึกปฎิบัติทั้งคู่สลับบทบาทกัน


วิดีโอการช่วยเหลือคนจมน้ำ





ระเบียบการใช้สระว่ายน้ำ

ระเบียบการใช้สระว่ายน้ำ


1.  ทานอาหารให้เรียบร้อยก่อนลงสระอย่างน้อย30 นาที
2.  แต่งกายลงว่ายน้ำเล่นน้ำ ด้วยชุดว่ายน้ำที่สะอาด สุภาพเรียบร้อยและไม่มีโลหะเป็นส่วนประกอบ
3.  ผู้ที่ไว้ผมยาว กรุณาสวมหมวกว่ายน้ำ
4.  ห้ามสวมใส่ชุดชั้นใน(เสื้อใน กางเกงใน) ไว้ภายในชุดว่ายน้ำ
5.  ไม่สวมใส่เครื่องประดับ เช่น สร้อย แหวน กําไล ต่างหูหรือนาฬิกาลงน้ำ
6.  ห้ามผู้ที่มีแผลเปิด แผลถลอกหรือแผลตกสะเก็ด ลงสระว่ายน้ำ(ทั้งแพร่เชื้อและรับเชื้อ)
7.  อาบน้ำและสระผมให้สะอาดก่อนลงสระ
8.  ล้างเท้าในอ่างล้างเท้าที่จัดไว้ให้ทุกครั้งก่อนลงสระ
9.  ห้ามเล่นหรือแกล้งจมน้ำ ไม่อนุญาตให้ฝึกดําน้ำทนหรือดําน้ำแข่งกัน
10. ห้ามวิ่ง เล่นผลักกัน ชกกันในน้ำหรือบนพื้นรอบๆ บริเวณสระหรือวิ่งกระโดดลงน้ำ
11. ไม่ปัสสาวะ สั่งน้ำมูก บ้วนน้ำลายและเสมหะลงในน้ำและพื้นรอบๆ บริเวณสระ
12. อย่าอมน้ำหรือบ้วนน้ำเล่น  อาจเป็นอันตรายต่อเคลือบฟันหรือได้รับเชื้อโรคบางชนิดที่อาศัยน้ำเป็นพาหะ
13. ห้ามนําอาหารหรือเครื่องดื่มใดๆ เข้ามาในบริเวณสระ
14. ห้ามนําภาชนะที่เป็นแก้วทุกชนิดเข้ามาในบริเวณสระ
15. ห้ามนําสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้ามาในบริเวณสระ
16. ห้ามสูบบุหรี่ เสพยาเสพติดหรือดื่มของมึนเมาในบริเวณสระ
17. ห้ามนําอุปกรณ์ใดๆ ลงสระว่ายน้ำหรือเข้ามาในบริเวณสระก่อนได้รับอนุญาต
18. พบเห็นอุปกรณ์ชํารุดเสียหาย โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่สระ
19. พบเห็นคนจมน้ำ อย่าเข้าไปช่วยเอง โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่สระ
20. เจ้าหน้าที่จะไม่รับผิดชอบ หากทรัพย์สินสิ่งของมีค่าของสมาชิกสูญหาย
21. ช่วยกันรักษาความสะอาดภายในห้องน้ำ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า บริเวณรอบๆ สระและในสระว่ายน้ำ
22. ผู้ที่อายุต่ำกว่า 7 ปีหรือว่ายน้ำไม่เป็น ห้ามลงสระเว้นแต่มีผู้ปกครองหรือครูฝึกดูแลจึงจะลงสระได้
23. ผู้ป่วยหรือมีโรคประจําตัว โรคหัวใจ โรคลมชัก โรคเบาหวาน กรุณาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทุกครั้ง
24. ห้ามส่งเสียงดังหรือแสดงกิริยาวาจาที่อาจสร้างความเดือดร้อนรําคาญให้แก่สมาชิกท่านอื่นๆ
25. ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่หรือป้ายเตือนโดยเคร่งครัด ผู้ฝ่าฝืนอาจโดนยกเลิกสมาชิกภาพได้
26. เจ้าหน้าที่ชีวพิทักษ์ (Lifeguard) ประจําสระว่ายน้ำจะดูแลความปลอดภัยอย่างเต็มความสามารถ สมาชิกจะต้องรับผิดชอบความปลอดภัยของตนเอง หากเกิดเหตุอันสุดวิสัยแล้ว เจ้าหน้าที่ฯและสระว่ายน้ำจะไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น


ความปลอดภัยและข้อควรระวังในการลงเล่นน้ำ


ความปลอดภัยในการลงเล่นน้ำ


1.ไม่ว่ายน้ำคนเดียว ควรว่ายกับเพื่อนหรือเป็นกลุ่มหรืออย่างน้อยมีผู้อื่นรู้ว่า เราลงเล่นน้ำอยู่ที่ใด

ระบบจับคู่หรือ Buddy System เป็นระบบความปลอดภัยในการทํากิจกรรมทางน้ำที่ดีมาก คือ ลงเล่นน้ำเป็นคู่ หากเกิดอะไรขึ้นก็จะมีอีกคนหนึ่งให้ความช่วยเหลือได้หรือรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ตรงจุดไหน ให้รายละเอียดได้ แม้คู่หูจะไม่ลงน้ำก็รู้ว่าใครลงน้ำเล่นหรือว่ายน้ำอยู่ตรงไหน

2.ไม่ว่ายน้ำออกไปไกลจากฝั่ง ควรว่ายน้ำขนานฝั่งการว่ายน้ำหากต้องการว่ายน้ำระยะทางไกลๆ

ในแหล่งน้ำทั่วไป ควรจะว่ายขนานไปตามฝั่ง หากหมดกําลังจะได้เข้าฝั่งได้ใกล้ๆ หากเราว่ายไกลออกไปจากฝั่งเมื่อหมดแรงเราจะต้องว่ายกลับเข้าฝั่งไกลพอๆ กับที่เราว่ายออกไป


3.ไม่ลงว่ายน้ำเล่นน้ำในเวลากลางคืนต่อนใกล้รุ่งและใกล้ค่ำ

มักเป็นช่วงเวลาที่สัตว์ออกหากิน เช่น ฉลาม งูทะเลจึงอาจเกิดอันตรายจากสัตว์เหล่านี้ได้ และในช่วงใกล้ค่ำหากเกิดเหตุการณ์จะให้ความช่วยเหลือจะยากเพราะมองไม่ค่อยเห็นและความมืดทําให้เราไม่เห็นสัตว์ที่จะเข้ามาทําอันตรายเราด้วย

4.ลงเล่นน้ำหรือว่ายน้ำในบริเวณที่จัดไว้ให้หรือมีเจ้าหน้าที่ชีวพิทักษ์คอยดูแลการลงว่ายน้ำหรือเล่นน้ำ

ในพื้นที่ที่จัดให้ว่ายน้ำและมีเจ้าหน้าที่ชีวพิทักษ์ดูแลย่อมมีความปลอดภัยทั้งสถานที่และอุปกรณ์ ความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือไม่ต้องกังวลอันตรายจากเรือ ที่อาจเป็นอันตรายต่อเรา หากเกิดอุบัติเหตุ ใดๆ เจ้าหน้าที่ชีวพิทักษ์ก็สามารถที่จะให้ความช่วยเหลือได้

5.ไม่กระโดดลงน้ำในบริเวณน้ำตื้น

น้ำขุ่นหรือไม่ทราบสภาพใต้น้ำน้ำใสๆ ที่มองดูว่าลึก อาจตื้นก็ได้ยิ่งน้ำขุ่นและไม่เคยลงมาก่อนไม่ควรกระโดดลงน้ำ เพราะอาจมีต่อไม้ กิ่งไม้อยู่ใต้น้ำ อาจก่อให้เกิดอันตรายได้

6.ไม่ควรลงเล่นน้ำหากดื่มสุรา เมายา อดนอน อ่อนเพลียสุรา ยา

การอดนอนและความอ่อนเพลีย ทําให้ร่างกายอ่อนแอ ควบคุมกล้ามเนื้อไม่ได้ อาจเป็นตะคริว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทําให้คนจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุดสาเหตุหนึ่งรวมทั้งไม่สามารถจะช่วยตัวเองได้ อาจจะทําให้ผู้อื่นที่เข้าไปให้ความช่วยเหลือต้องเสียชีวิตไปด้วย

7.เตรียมชุดว่ายน้ำที่เหมาะสมสําหรับลงเล่นน้ำหรือว่ายน้ำ

ไม่ควรใส่กางเกงขายาวลงเล่นน้ำเวลาไปว่ายน้ำที่สระว่ายน้ำ เราต้องใช้ชุดว่ายน้ำ เวลาไปเที่ยวทะเลเราจะเตรียมชุดไปเล่นน้ำทะเล สภาพชายหาดที่ลาดเอียงจากตื้นไปลึกทําให้เรารู้ระดับน้ำไม่ลงไปลึกจนเกินไป แต่เวลาเราไปเที่ยวน้ำตก เราไม่ค่อยจะเตรียมชุดไปเล่นน้ำและสภาพแอ่งน้ำตกที่เป็นก้อนหินขนาดใหญ่เล็กต่างกันและยังมีกิ่งไม่ใต้น้ำซอกหิน น้ำที่ค่อนข้างขุ่นและเย็นจัด สิ่งเหล่านี้ล้วนเต็มไปด้วยอันตรายทั้งสิ้นนอกจากตะคริว ก็ยังมีกิ่งไม่เกี่ยว น้ำไหลเชี่ยวพัดพาไปติดซอกหิน ลื่นล้มแขนขาหักหรือหล่นหน้าผา ไม่ควรใส่กางเกงขายาว เพราะทั้งหนัก เกะกะ เนื้อผ้าแข็งยิ่งกางเกงยีนส์ยิ่งอันตรายมาก

8.ไม่ควรลงเล่นน้ำขณะมีฝนตกหรือฝนฟ้าคะนอง

ในสระว่ายน้ำมักมีสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่สูงกว่าสระว่ายน้ำก็ไม่น่าจะมีอันตรายจากฟ้าผ่า แต่ หากเป็นในแหล่งน้ำกว้างๆ การที่เราลอยอยู่ในน้ำอาจจะเป็นจุดที่สูงกว่าผิวน้ำอื่นๆ ซึ่งฟ้าอาจจะผ่าลงมาที่เราก็ได้ อีกประการหนึ่งความเย็นอาจทําให้เราเป็นตะคริวและฝนตกทำให้มองเห็นไม่ชัด

9.เด็กเล็กทั้งที่ว่ายน้ำเป็นหรือไม่เป็น ต้องมีคนคอยดูแลตลอดเวลาแม้จะใช้อุปกรณ์ช่วยลอยน้ำน้ำไม่ว่าจะตื้นหรือลึก

คนเราสามารถจมน้ำเสียชีวิตได้ทั้งนั้นเด็กเล็กๆ รวมทั้งคนที่ว่ายน้ำไม่เป็นหรือเพิ่งเริ่มหัดหรือว่ายน้ำเป็นให้มีล้วนแต่อาจจมน้ำเสียชีวิตได้ทั้งนั้น แม้แต่คนว่ายน้ำเป็นยังจมน้ำได้ ดังนั้นหากยังว่ายน้ำไม่แข็งแม้จะสวมใส่อุปกรณ์ช่วยลอยตัว เช่น ห่วงพลาสติก ปลอกแขน อุปกรณ์เหล่านี้ ไม่ใช้อุปกรณ์

10. เตรียมอุปกรณ์สําหรับช่วยชีวิตไว้เสมอ เช่น ห่วงชูชีพ ไม้ เชือก ฯลฯ

อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกที่ การช่วยคนตกน้ำด้วยการใช้อุปกรณ์เป็นวิธีที่ดีที่สุดปลอดภัยที่สุด ดังนั้นการจัดเตรียมอุปกรณ์ช่วยชีวิตไว้ล่วงหน้าให้มีความพร้อมเสมอเป็นการรักษาความปลอดภัยในการทํากิจกรรมทางน้ำที่ดีที่สุด เช่น การจัดเตรียมอุปกรณ์สําหรับช่วยตนเอง ได้แก่ ชูชีพ ขวดน้ำดื่ม สําหรับการลอยตัวนานๆ การเตรียมไม้ยาวๆ ไว้ยื่นให้ คนตกน้ำจับ ถังหรือห่วงชูชีพไว้โยนให้คนตกน้ำจับและเชือกยาวๆ สำหรับคนตกน้ำที่อยู่ไกลเกินที่จะยื่นไม่หรือโยนถังให้ ทำให้เราไม่ต้องเสี่ยงชีวิตในการที่จะต้องลงน้ำและว่ายน้ำออกไปช่วยคนตกน้ำ แต่หากจําเป็นต้องว่ายน้ำออกไปช่วย การสวมเสื้อชูชีพไว้ เราไม่จมน้ำแน่นอน ว่ายออกไปพร้อมกับนําแท่งโฟม(Rescue tube) ยาวประมาณ1 เมตร ผ้าเช็ดตัว ผ้าขาวมา จากนั้นยื่นให้คนตกน้ำจับแล้วลากเข้าฝั่ง โดยที่เราไม่โดนหรือต้องจับตัวคนตกน้ำเลยซึ่งจะปลอดภัยมากกว่าการเข้าไปถึงตั วและจับคนตกน้ำลากเข้าฝั่ง ซึ่งอันตรายมากอาจถูกคนตกน้ำกอดรัดเอาจนจมน้ำไปด้วย

11. ระมัดระวังดูแลรับผิดชอบความปลอดภัยของตนเองอยู่เสมอ